‘พิธา’ ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน

พิธา ชูศักยภาพ จิสด้า ใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน

วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และคณะ ประกอบด้วย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล และนายศุภโชติ ไชยสัจ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้เข้าเยี่ยมชมภารกิจของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า (GISTDA) เพื่อหารือถึงศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ ในการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการปัญหาสำคัญของประเทศ ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ได้เน้นความสำคัญกับภารกิจอวกาศของ GISTDA ในฐานะหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในการจัดการกับปัญหา PM2.5 อุทกภัย ภัยแล้ง การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้สามารถประเมินพื้นที่ที่เสี่ยงภัยพิบัติได้ และคาดการณ์ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการเกษตรรายแปลงที่เหมาะสม

Advertisement

นอกจากนี้ GISTDA ยังได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัยเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างเศรษฐกิจอวกาศ (New SPACE ECONOMY) โดยผลักดันให้มีกฎหมาย ได้แก่ (ร่าง) พระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. … รวมถึงการพัฒนาแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ เพื่อให้ประเทศไทยมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศที่ก้าวหน้า อีกทั้ง ยังมุ่งพัฒนาดาวเทียมในประเทศไทย เพื่อให้สามารถสร้างด้วยขีดความสามารถจากภายในประเทศ การวิจัยเทคโนโลยีอวกาศเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการก่อสร้างท่าอวกาศยาน (Spaceport) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนกฎหมายและนโยบายด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทยในระยะยาว

Advertisement

นายพิธากล่าวว่า GISTDA มีศักยภาพ และข้อมูลจากดาวเทียมมีประโยชน์ในการสนับสนุนนโยบาย การแก้ไขปัญหาของประชาชน ทั้งด้านอุทกภัย ภัยแล้ง PM2.5 รวมถึงการเยียวยาเกษตรกรในกรณีเกิดภัยพิบัติ
เห็นควรถึงความสำคัญในการสนับสนุน GISTDA ทั้งในด้านการจัดสรรงบประมาณ และการทำงานร่วมกัน กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศไปใช้แก้ปัญหาให้กับประชาชน

โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำงานร่วมกับ GISTDA ใน 3 ระยะ ระยะใกล้ : ดิน น้ำ ลม ไฟ การใช้ประโยชน์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเกษตรรายแปลง การใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ ถึงปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี กว่า 30% และน้อยกว่าปีที่แล้ว 45% ซึ่ง GISTDA มีข้อมูลน้ำต้นทุนที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการวางแผนการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับปริมาณการใช้น้ำ และสถานการณ์น้ำ

นายพิธากล่าวว่า การวางแผน และการแก้ไขปัญหา PM2.5 การคาดการณ์ทิศทางลม การประเมินคุณภาพอากาศจากดาวเทียม ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมจะช่วยเสริมความแม่นยำในการบริหารจัดการได้ และBurn check ซึ่งเข้าใจดีกว่าประชาชนจำเป็นต้องมีการเผา แต่หากสามารถบริหารจัดการได้ก็จะช่วยสามารถบรรเทาสถานการณ์หมอกควันได้ นอกจากนี้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องความถี่ของข้อมูล ทั้งข้อมูล HOTSPOT Burn Scar รวมถึงข้อมูล Biomass เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า b. ระยะกลาง : การบริหารจัดการ การประเมิน Carbon credit ที่สามารถวัดได้อย่างแม่นยำ และ c. ระยะยาว การส่งเสริมให้เกิด Space Economy ซึ่งมีการคาดการณ์มูลค่าของอุตสาหกรรมอวกาศของทั่วโลกที่ 7.7 ล้านล้านบาท และประเทศไทยมีศักยภาพ โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศจะช่วยให้เกิด Spillover Effect ในการได้เทคโนโลยีระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเราจำเป็นต้องส่งเสริมเรื่อง Local Content ในประเทศไทย รวมถึงการทุนในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ

นายพิธากล่าวว่า การใช้ดาวเทียมเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัยของประชาชน และประเทศ การผลักดันการศึกษาความเป็นไปได้ของการตั้ง Spaceport ในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากเวลาจำกัด ในอนาคตอาจจะมีการตั้ง Working Team เพื่อทำงานร่วมกันต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image