ช่อ เล่ายิบ คืนชีพ ‘บ้านอองโตนี’ ประจักษ์พยานชะตากรรมผู้ลี้ภัย ‘คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ’

ช่อ เล่ายิบ คืนชีพ ‘บ้านอองโตนี’ ประจักษ์พยานชะตากรรมผู้ลี้ภัย ‘คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ’

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่มติชนอคาเดมี เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เครือมติชน นำโดย ‘ศิลปวัฒนธรรม’ จัดงาน 24 มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์ “พลวัตวันชาติ” ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 22 มิถุนายน โดยวันนี้เป็นวันสุดท้าย

ผู้สื่อข่าวบรรยายบรรยากาศ ตั้งแต่เวลา 10.30 น. มีผู้เดินทางมาลงทะเบียนร่วมงาน และฟังเสวนาอย่างคึกคัก พร้อมรับหนังสือศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ที่รฦก 25 ปี ศิลปวัฒนธรรม “หลักไชย ตำรากฎหมายครั้งกรุงศรีอยุธยา“ และโปสเตอร์เพื่อเป็นของที่ระลึกให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ สามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ต่อมาเวลา 13.45 น. เริ่มกิจกรรมทอล์ก หัวข้อ “นายปรีดี พนมยงค์ กับ บ้านปรีดี” โดย ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช หรือ ช่อ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ดำเนินรายการโดย นายกษิดิศ อนันทนาธร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง

Advertisement

ผู้สื่อรายงานบรรยากาศว่า คณะผู้บริหารเครือมติชน นักวิชาการ และประชาชนร่วมฟังเสวนาอย่างคับคั่ง อาทิ นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธาน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), น.ส.ปานบัว บุนปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน, ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดัง มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน–แมดิสัน สหรัฐอเมริกา, ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ อดีตคณบดี วิทยาลัยนานาชาติปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ นายจรัญ หอมเทียนทอง กรรมการยุทธศาสตร์พัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สาขาหนังสือ และ รศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง และรองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

Advertisement

ในตอนหนึ่ง น.ส.พรรณิการ์กล่าวว่า วินาทีที่ตนได้หนังสือที่ระลึก “บทสัมภาษณ์ ปรีดี พนมยงค์” เล่มนี้มา ซึ่งบทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นที่บ้านอองโตนี เปิดมาหน้าแรกเป็นคำถามของนายขรรค์ชัย บุนปาน ถามว่า ‘อาจารย์คงทราบแล้วว่า ขณะนี้เมืองไทยกำลังขัดแย้งกันเรื่องรัฐธรรมนูญ ในทัศนะของอาจารย์ ทางออกที่ถูกที่ควรคิดว่าน่าจะเป็นอย่างไร’

“แค่ฟังคำถามแล้วก็รู้สึกว่าตลกร้าย ก็คือบทสัมภาษณ์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว คนไทยทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันปี 2557 ผ่านมาแล้ว 50 ปี ยังทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญ แล้งยิ่งพออ่านคำตอบบทสนทนานี้ ก็ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีก เพราะว่าที่ทะเลาะกันเรื่องรัฐธรรมนูญ ท่านทราบไหมว่าเรื่องใหญ่ใจความ คือ ส.ว.” น.ส.พรรณิการ์กล่าว

น.ส.พรรณิการ์กล่าวต่อว่า ตกลงส.ว.จะมีไหม หรือ เป็นสภาเดี่ยว หรือ ถ้าเป็นสภาคู่ ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ไม่ใช่ให้องคมนตรีทำรายชื่อขึ้นมาแล้วเลือกกันอีกที

“พูดกันง่ายๆ คือ ณ 50 ปีที่แล้วเถียงกันเรื่อง ส.ว. ตกลงจะ มี หรือ ไม่มี ถ้ามีจะต้องมาจากการเลือกตั้งโดนตรงจากประชาชนหรือไม่ ไม่ใช่การสรรหาโดยผู้มีอำนาจ ณ วันนี้เรากำลังอยู่ในกระบวนการเลือกส.ว.กันอยู่พอดี เท่านั้นไม่พอบทสนทนานี้เกิด 1 ปี หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บทสนทนานี้ คือ 2 ตุลาคม 2517

วันนี้ก็คือ 1 ปีหลังชัยชนะจากการเลือกตั้ง 2566 พูดง่ายๆคือหลังจากชัยชนะของประชาชน ผ่านไป 1 ปี เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ก็เถียงกันเรื่องรัฐธรรมนูญ กติกาว่า ตกลงว่าคิดว่าเราชนะมาแล้ว แต่กติกาที่จะทำให้อำนาจเป็นของประชาชนจริงๆแก้ไม่ได้ วันนี้เล่นเดียวกันกับสถานการณ์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว คือ กติกาที่เราเชื่อว่าจะทำให้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนจริงๆ ถึงแม้ว่าจะผ่านสิ่งที่เราคิดว่าเป็นชัยชนะของประชาชนมาแล้ว แค่พอแก้ไขกติกาจริงๆ ฝ่ายอนุรักษ์กลับไม่ยอมให้แก้ ยังคงอยู่กับปัญหาเดิมมา 50 ปี” น.ส.พรรณิการ์ระบุ

น.ส.พรรณิการ์กล่าวว่า บทสนทนาแบบนี้เกิดขึ้นที่บ้านอองโตนี ซึ่งหากคิดว่าทำไมบ้านอองโตนีจึงมีความสำคัญ ตนอยากจะใช้คำพูดของคุณสุดา พนมยงค์ และดุษฎี พนมยงค์ เพราะตนเป็นคนที่ไปแจ้งให้ท่านทราบอย่างเป็นทางการ หลังจากซื้อเรียบร้อยแล้ว บ้านกลับมาเป็นของคนไทยแล้ว

“ช่อเป็นคนไปแจ้งที่บ้านของอ.ปรีดีอย่างเป็นทางการว่า สัญญาทำการซื้อขายเรียบร้อยแล้ว วันนี้เราก็ไปแจ้งให้ท่านทราบว่า ‘บ้านปรีดี’ กลับมาเป็นของพวกเราแล้ว กลับมาเป็นของคนไทยแล้ว ซึ่งครูดุษกับคุณแป๋วบอกว่า อย่าเรียกว่าบ้านปรีดีเลย

มันเป็นบ้านของสุภาพสตรีเวียดนามมาตั้ง 40 ปี พวกเรามาอยู่กันแค่ 13 ปีเอง เพราะฉะนั้นอย่าเรียกบ้านหลังนี้ว่าบ้านปรีดี เรียกว่า บ้านอองโตนี จะดีกว่า เพราะเป็นบ้านที่มีบุคคลอาศัยอยู่มาหลายครอบครัวนานกว่าพวกเรา” น.ส.พรรณิการ์กล่าว

น.ส.พรรณิการ์ กล่าวต่อว่า คำพูดนี้ทำให้เราเปลี่ยนความคิดโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับบ้าน ที่ก่อนหน้านี้เราก็เรียกว่าบ้านปรีดีมาโดยตลอด จากวันนั้นเราพยายามจะไม่เรียกว่าบ้านปรีดีอีกเลย แต่จะเรียกว่า บ้านอองโตนี ด้วยเหตุผล 2 ประการ

“ประการแรก ตนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้เกียรติคุณป้า คุณยายชาวเวียดนาม ซึ่งท่านอยู่ในบ้านหลังนี้ ซื้อบ้านมาจากครอบครัวอ.ปรีดี จนอยู่มายาวนาน 40 ปี ยาวนานกว่าครอบครัวพนมยงค์ อยู่จนตัวท่านเสียชีวิต มีนักวิชาการเคยบอกเหมือนกันว่า ประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา หรือ รัฐบุรุษ ก็มีความสำคัญเท่ากัน

ประการที่ 2 พอเราพูดว่าบ้านหลังนี้ คือ บ้านปรีดีมันจะถูกจำกัดความสำคัญเหมือนว่า เราต้องตามบ้านหลังนี้ ซื้อบ้านหลังนี้กลับมา เพราะท่านปรีดีเคยอยู่ เหมือนล่าขุมสมบัติบางอย่าง เวลาฟังผิวเผินก็จะคิดแบบนั้น เป็นสถานที่สำคัญสำหรับคนไทย” น.ส.พรรณิการ์กล่าว

น.ส.พรรณิการ์กล่าวว่า สำหรับตนมันลึกซึ้งกว่านั้น มีเหตุผล 2 ประการด้วยกัน คือ 1.บ้านอองโตนีในอดีต มันเป็นบ้านที่ ณ ตอนนั้น ใครที่ไปยุโรปแล้ว ต้องหาทางไปบ้านอองโตนี โดยเฉพาะนักเรียนที่เขาต้องไปอยู่เป็นปีๆ มันเป็นเสมือนเฟซบุ๊กเพจ คนไทยในยุโรป ในยุคที่ยังไม่มีเฟซบุ๊กเพจ และเป็นที่รวมการอัพเดตข้อมูลข่าวการ การพูดคุยแลกศิลปะวัฒนธรรม ปรัชญาการเมือง หรือเป็นสถานที่ใครเขาอยากไปสนทนากับท่านปรีดี เพราะท่านไม่ได้สนใจแค่การเมือง แต่รวมถึงศิลปะ ปรัชญา ประวัติศาสตร์เยอะมาก มันเป็นที่มีความสำคัญหรับคนไทยมาก

น.ส.พรรณิการ์กล่าวต่อว่า ข้อที่ 2 เวลาที่เราพูดถึงบ้านอองโตนี ทุกท่านต้องไม่ลืมว่าเวลาที่เราเหยียบย้ำเข้าไป สถานที่มันเตือนใจให้เรานึกถึงแต่คำว่า ‘แต่คนดีเมืองไม่ต้องการ’ ไม่ใช่แค่ปรีดี พนมยงค์ แต่ทุกท่านทราบดีว่าในประเทศไทยมีบุคคลที่เห็นต่างจากรัฐ หรือ รัฐเห็นว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ รัฐเท่ากับผู้มีอำนาจ ไม่ใช่รัฐเท่ากับประชาชน

“ทุกครั้งที่เหยียบเข้าไปในบ้านอองโตนี มันจะเตือนใจให้รำลึกว่า นี่คือสถานที่ซึ่งเป็นจุดจบของบุคคลที่รัฐไทย ตราหน้าว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐ ต่อผู้มีอำนาจ มีจำนวนมากที่ต้องจบชีวิตในต่างแดน หรือ ปัจจุบันยังใช้ชีวิตในต่างแดน หรือ เสียชีวิตโดยที่แม้แต่ศพก็ไม่ได้เอากลับมาให้กับญาติทำพิธี เพียงแค่ว่าเขาเป็นคนที่ถูกตราหน้าว่าเป็นภัยคุกคามต่อผู้มีอำนาจในประเทศนี้ เซนส์ตรงนี้ถ้าเราเรียกว่า บ้านปรีดี เมจเสจเหล่านี้อาจจะตกหายไประหว่างทาง” น.ส.พรรณิการ์เผย

น.ส.พรรณิการ์ กล่าวว่า อยากให้บ้านอองโตนีเป็นประจักษ์พยานอยู่ตลอดไป ถึงชะตากรรมของผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นภัยคุกคามต่อผู้มีอำนาจในประเทศนี้ว่า สุดท้ายเขาต้องจบชีวิตในต่างแดนอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ได้รับเกียรติยศศักดิ์ศรีสมกับที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประชาชน และประเทศนี้

“ส่วนหนึ่งของบ้านหลังนี้ก็จะเก็บเมจเสจนี้ มีส่วนที่เราต้องการให้เป็นพิพิธภัณฑ์ จะมีส่วนที่บันทึกที่ว่าด้วยชีวิตของผู้ที่เสียอิสรภาพ สูญเสียศักศรี สูญเสียชีวิต เพียงเพราะเป็นผู้เห็นต่างจากรัฐ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการที่เอาบ้านกลับมาให้ประชาชนคนไทยได้ไปเยี่ยมชม” น.ส.พรรณิการ์ชี้

น.ส.พรรณิการ์กล่าวว่า หัวใจของบ้าน คือ สวน เพราะนักศึกษา แขกไปใครมา ท่านปรีกับกับท่านผู้หญิงจะรับแขกที่สวนกันไป โดยเฉพาะช่วงที่อากาศดีพอ เพราะฉะนั้นสวนหลังบ้านแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ มันคงจะดีถ้าตรงนี้ได้กลับมาแลกเปลี่ยนความคิด กลับมาเป็นพื้นที่ของทุกคนอีกครั้ง

“ดังนั้นถ้าจะทำให้บ้านมีชีวิตอีกครั้ง จัดปาร์ตี้ข้าวต้มกุ๊ย คงจะดีเหมือนกัน ถ้าเราเป็นคนไทยในต่างแดน หรือมาจากยุโรป อเมริกา ก็เป็นการคืนภาพวันเก่าของสวน จะบอกว่าวันที่จัดปาร์ตี้ในสวนก่อนแถลงข่าว ผลประกอบการดีมากข้าวต้มหมด 3 หม้อ

บรรยากาศวันนั้น คิดว่าเราทำสำเร็จแล้วสเตปหนึ่ง ณ วันนั้นมันสำเร็จในการคืนชีวิตให้บ้านอองโตนี ให้คนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันและบันดาลใจซึ่งกันและกัน หรือไม่พ้นการเมือง หรือแม่ป้าร้านนวด ร้านอาหารไทย ก็ถามเหมือนกันว่าทำอย่างไรที่จะชาติให้ดีขึ้นได้ ตัวเขาในฐานะคนไทยจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย เขาไม่อยากอยู่ฝรั่งเศสตลอดชีวิต อยากให้มีคุณภาพชีวิตดีแบบที่ฝรั่งเศส” น.ส.พรรณิการ์ระบุ

น.ส.พรรณิการ์กล่าวทิ้งท้ายว่า มันไม่เสียแรงที่เอาบ้านหลังนี้กลับมาให้เป็นพื้นที่ออนกราวด์ ให้คนที่มีความคิดแบบเดียวกัน ฉันอยากจะทำเพื่อบ้านเมืองเหลือเกิน เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เป็นอนาคตที่เราอยากจะเห็น

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image