วงศ์มหิธร เมืองพิมาย บรรพชนกษัตริย์เขมร

วงศ์มหิธร เมืองพิมาย บรรพชนกษัตริย์เขมร

วงศ์มหิธร เมืองพิมาย
บรรพชนกษัตริย์เขมร

รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

งานวิจัยของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เรื่องการตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกของชาติ : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก โดย รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

เป็นงานสำคัญมากที่ปรับปรุงฐานข้อมูลจารึกให้ถูกต้องทันสมัย พร้อมคำอธิบายเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของไทยและกัมพูชา ซึ่งแต่เดิมวิปริตผิดพลาดคลาดเคลื่อน ไม่มีสถาบันวิชาการรับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ครั้งนี้ได้นักวิชาการลุ่มลึกแท้จริงมาชำระจึงวิเศษอย่างยิ่ง

Advertisement

รัฐบาลควรให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นหลักฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติในประวัติศาสตร์โบราณคดีระหว่างรัฐลุ่มน้ำมูล (ในไทย) กับ รัฐโตนเลสาบ (ในกัมพูชา) เพื่อเศรษฐกิจการเมืองระหว่าง 2 ประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน

สายสัมพันธ์ทางเครือญาติ

เชื้อวงศ์มหิธร (มะหิทอน คำยืมจากมหิธรปุระในจารึก) ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตต้น น้ำมูล ขึ้นครองบัลลังก์ที่เมืองพระนคร (กัมพูชา)

Advertisement

คำว่ามหิธร มาจากภาษาสันสกฤตว่า “มหีธร” แปลว่าผู้แบกแผ่นดิน หมายถึงพระราชา ซึ่งในที่นี้หมายถึงพระนารายณ์ (หรือพระวิษณุ)

ศูนย์กลางของวงศ์มหิธรอยู่ที่เมืองพิมาย ลุ่มน้ำมูล (. พิมาย จ. นครราชสีมา) ซึ่งพบภาพสลักเรื่องพระราม (อวตารพระนารายณ์) บนหน้าบันทับหลังจำนวนไม่น้อย

นอกจากนั้นยังพบอีกว่าเชื้อวงศ์ที่พนมรุ้งและที่ปราสาทตาเมือนธม พระราชาในเขตทะเลสาบเขมรยังมีสายสัมพันธ์กับเชื้อวงศ์ท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

1. พระเจ้าภววรมันที่ 2 (แห่งกัมพูชา) ทรงมีสายสัมพันธ์ทางพระญาติวงศ์กับเชื้อวงศ์ท้องถิ่นบริเวณแหล่งโบราณคดีเมืองไผ่ . อรัญประเทศ . สระแก้ว

2. พระเทวีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (แห่งกัมพูชา) ทรงเป็นคนท้องถิ่นย่านปราสาทเขาพระวิหาร กัมพูชา

3. พระศรีสูรยลักษมีเทวีของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 มีถิ่นฐานเดิมในเขตลุ่มแม่น้ำมูล

คติความเชื่อ

จากข้อความหลักฐานโบราณวัตถุประเภทจารึกสามารถสะท้อนแนวความเชื่อได้ ดังต่อไปนี้

1. ลุ่มแม่น้ำมูล พบหลักฐานเกี่ยวข้องกับนิกายปาศุปตะ พบหลักฐานในจารึกปราสาทหินเขาพนมรุ้ง 9 (แม้ว่าในเขตเมืองพระนคร หลังพุทธศตวรรษที่ 15 จะไม่ปรากฏร่องรอยของนิกายนี้แต่ประการใด)

2. ร่องรอยของพุทธศาสนา พบจารึกเป็นภาษาสันสกฤตมากกว่าจารึกภาษาบาลี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความนิยมพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นหลัก ประกอบกับประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ที่พบในเขตลุ่มแม่น้ำมูล เช่น เศียรพระโพธิสัตว์จากบ้านโตนด . นครราชสีมา

อนึ่ง จากหลักฐานจารึกบ้านโคกสะแกราชกล่าวถึงพระวัชรสัตว์ในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 ซึ่งเป็นแนวคิดของโยคาจารย์ เหมือนกับที่พบที่บุโรพุทโธ ในชวาภาคกลาง

3. จากหลักฐานจารึกศรีวัตวะสร้างเทวรูป พบว่าพราหมณ์ในนิกายปาศุปตะได้สร้างพระพุทธรูป แต่จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดี พบพระพุทธรูปนาคปรก และพระวิษณุ เช่น กู่น้อย . นาดูน . ขอนแก่น

ช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

เมื่อพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 สามารถแผ่อาณาบารมีเข้ามาสู่แอ่งโคราชได้แล้ว จะพบการกระจายตัวของหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 รวมถึงหลักฐานที่เกี่ยวกับพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 มีปริมาณค่อนข้างสูงมาก

รวมถึงเมื่อพิจารณาจากการแผ่อาณาบารมีในครั้งนี้สันนิษฐานว่าสัมพันธ์กับการขจัดบารมีของพระเจ้าชัยวีรวรมันในเขตเมืองพิมายซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งทางการเมืองของพระองค์

ประกอบกับหลักฐานโบราณสถานและโบราณวัตถุประเภทจารึกของพระราชาทั้ง 2 พระองค์ยังพบในบริเวณแหล่งเกลือสินเธาว์ ดังนั้นจึงเชื่อว่าพระราชาทั้ง 2 พระองค์มีความประสงค์เพื่อที่จะคุมทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นที่น่าสังเกตได้ว่าในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ประชากรในเขตเมืองพระนครมีปริมาณที่มากขึ้นถึงกับต้องขุดบารายตะวันตก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการเทครัวประชากรในแอ่งโคราชลงไปที่เมืองพระนคร

ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งเมื่อแรกอาจจะขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองพิมาย และพระองค์ก็น่าจะเป็นผู้สถาปนาปราสาทหินพิมาย ต่อมาพระองค์สามารถขึ้นครองบัลลังก์ที่เมืองพระนครได้

โบราณวัตถุประเภทจารึกของราชวงศ์นี้ไม่ได้กระจายทั่วทั้งแอ่งโคราช หากแต่จะพบในศาสนสถานสำคัญของเชื้อวงศ์นี้ เช่น ปราสาทพิมาย, ปราสาทเขาพนมรุ้ง, รวมถึงการแก้กัลปนาของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ที่ปราสาทพนมวัน

เมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โบราณวัตถุประเภทจารึกช่วงนี้จะเกี่ยวข้องกับศาสนสถานประจำอาโรคยศาลของพระเจ้าชัยวรรมันที่ 7

จารึกคือหลักศักดิ์สิทธิ์

จากการศึกษาจารึกหลายชิ้นไม่น่าที่จะเป็นการสร้างขึ้นเป็นหลักประกาศแก่มนุษย์ หากแต่เป็นหลักประกาศแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

อีกทั้งจารึกส่วนใหญ่จะสลักบนแผ่นศิลาหรือหลักศิลาซึ่งเป็นรูปทรงที่นักโบราณคดีรุ่นหลังสมมุติเรียกว่า “ใบเสมา” ที่สืบเนื่องจาก Megalithic Culture ซึ่งเป็นแนวคิดเรื่องหลักศักดิ์สิทธิ์ในคติความเชื่อเดิมของภูมิภาคนี้ก่อนการรับศาสนาจากชมพูทวีป

ดังนั้นหลักศิลาจารึกจึงเปรียบเป็นแผ่นใบเสมาแทนที่จะสลักภาพเล่าอันศักดิ์สิทธิ์แต่เปลี่ยนมาสลักข้อความศักดิ์สิทธิ์ หรือข้อความรวมกับรูปเคารพ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะพบในเขตลุ่มน้ำชีมากกว่าลุ่มน้ำมูล

ชื่อเมืองโบราณ

พิจารณาจากตำแหน่งจารึก ทำให้ทราบชื่อเป็นทางการดั้งเดิมของพื้นย่านนั้นๆ ดังต่อไปนี้

1. กาจโตน (ไม่รู้คำแปล) คือ เขาปลายบัด บ้านโคกเมือง ต. จระเข้มาก อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์

2. ชเยษฐปุระ (แปลว่า เมืองที่ดีงามมาก) คือ บริเวณเมืองไผ่ หมู่ที่ 1 . เมืองไผ่ อ. อรัญประเทศ จ. สระแก้ว

3. ทัมรง (แปลว่า ถือ) คือ ชื่อเดิมของบริเวณโบราณสถานหมายเลขที่ 1 เมืองเสมา (ปราสาทไม่มีชื่อ) . เสมา อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา

4. รัตนปุระ (แปลว่า เมืองแก้ว) คือ ชื่อเดิมของปราสาทพนมวัน บ้านมะค่า ต. บ้านโพธิ์ อ. เมืองฯ จ. นครราชสีมา

5. สิทธิปุระ (แปลว่า เมืองแห่งอำนาจ) คือ ชื่อเดิมของปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันสามัคคี ต. ตาเมียง อ. พนมดงรัก จ. สุรินทร์

6. สตุกอำพิล (แปลว่า บ่อเกลือ) คือ ชื่อเดิมของชุมชนที่ตั้งของปราสาทสระกำแพงใหญ่ หมู่ที่ 1 . สระกำแพงใหญ่ อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ

7. ศังขะปุระ (แปลว่าเมืองสังข์) คือ แหล่งโบราณคดีบ้านดงเมืองเตย หมู่ที่ 8 . สงเปือย อ. คำเขื่อนแก้ว จ. ยโสธร

8. อโพธปุระ (ไม่รู้คำแปล) คือ บริเวณปราสาทสระกำแพงน้อย ต. ขยุง อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ

ช่องทางเข้าถึง

รายงานการวิจัยเรื่องนี้ ตามอ่านได้ในห้องสมุดของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือดาวน์โหลดจาก SAC’s Research Database | ฐานข้อมูลงานศึกษาวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

ปราสาทพนมวัน เป็นแหล่งที่พบจารึกจำนวนมากแหล่งหนึ่ง ที่สำคัญที่กรอบประตูของห้องประธานด้านทิศใต้ พบจารึกเก่าที่สุดของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6

ปราสาทพิมาย สร้างในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ก่อน พ.. 1655

จารึกบริเวณหนองหินตั้ง . เกษตรสมบูรณ์ จ. ชัยภูมิ

คนไทย “ลูกผสม”
ดีเอ็นเอ หลายชาติพันธุ์

การแถลงข่าวเรื่องโลงผีแมนฯ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ท้องพระโรง (หอศิลป์) วังท่าพระ เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ชี้ความเป็นไปได้ว่าโครงกระดูกที่พบในแต่ละถ้ำ ของพื้นที่ . ปางมะผ้า. แม่ฮ่องสอน ในปัจจุบันเป็นของประชากรซึ่งเป็นเครือญาติกัน

ทั้งนี้ ประชากรสมัยโบราณซึ่งจัดเก็บศพไว้ในถ้ำเหล่านี้ประกอบด้วยคนซึ่งมีบรรพบุรุษจากหลายแห่งและหลายช่วงเวลามาอยู่ร่วมเป็นคนในสังคมเดียวกนในพื้นที่ศึกษา

สุรพล นาถะพินธุ (อดีตคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) ขณะทำงานขุดค้นแหล่งถลุงเหล็กสมัยโบราณที่บ้านสายโท 5 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

คนไทยเป็นใคร? คำถามเมื่อ 60 ปีที่แล้ว

สุรพล นาถะพินธุ (อดีตคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) มีความเห็นดังต่อไปนี้

ผู้วิเคราะห์ DNA ได้เทียบเคียงข้อมูลลักษณะ DNA ของโครงกระดูกคนสมัยโบราณที่ถ้ำปางมะผ้ากับข้อมูลลักษณะ DNA ของคนสมัยโบราณเมื่อช่วงเวลาต่างๆ ของพื้นที่อื่นๆ แล้วให้ความเห็นว่าบรรพบุรุษของคนสมัยโบราณ เมื่อประมาณ 1,700 ปี ซึ่งเคยใช้พื้นที่แหล่งโบราณคดีถ้ำที่ปางมะผ้า อย่างน้อยประกอบด้วยประชากรดั้งเดิมซึ่งใชเครื่องมือหินกะเทาะแบบ Hoabinhian ซึ่งเคยมีอยู่ในพื้นที่หลายแห่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่เมื่อไม่น้อยกว่าประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว และประชากรสมัยหลังกว่าซึ่งมีบรรพบุรุษอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำหวงเหอและแม่น้ำแยงซี ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนปัจจุบัน

การวิเคราะห์ DNA ให้ข้อมลสารสนเทศ และความรู้สนับสนุนความเห็นว่าคนไทยเป็นชาติพันธุ์ที่คลี่คลายมาจากการผสมผสานของหลายกลุ่มชาติพันธุ์ และการวิเคราะห์ DNA เป็นแนวทางการศึกษาที่สามารถช่วยให้ความกระจ่างต่อคำถามว่า “คนไทยมาจากไหน” และ “บรรพบุรุษของไทยเป็นใคร“ ซึ่งเริ่มถามกันมาตั้งแตประมาณ 60 ปีมาแล้ว จึงควรดำเนินการต่อไป

นอกจากนี้ ข้อมูลสารสนเทศ และความรู้ที่ได้ตามมาจากการวิเคราะห์ DNA ยังจะช่วยให้พัฒนาความรู้ และวิธีการหาความรู้ที่ถูกต้องใน “ประวัติความเป็นมา” ของประเทศไทย

หลายชาติพันธุ์โยกย้ายไปมาทั่วภาคพื้นทวีป

1. การวิเคราะห์ DNA ของคนสมัยโบราณเป็นงานวิชาการซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องคนสมัยอดีต ผลการวิเคราะห์ DNA สามารถช่วยให้ทราบต้ตอการกระจาย และการโยกย้ายถิ่นของคนกลุ่มต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ประกอบการสร้างความรู้ ความเข้าใจในแง่มุมอื่นๆ ของคน วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมสมัยอดีตได้ต่อไป

2. มีประชากรหลายกลุ่มชาติพันธุ์อยู่อาศัยในภูมิภาคย่อยต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงพืที่ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศไทยด้วย มาตั้งแต่อดีตนับพันปีมาแล้ว ดังเห็นได้จากความหลากหลายของสิ่งของเครื่องใช้ซึ่งพบในชุมชนสมัยโบราณแห่งตางๆ และมีผลการวิเคราะห์สิ่งของเครื่องใช้บางชนิดชี้ว่ากลุ่มคนในพื้นที่ต่างๆ ได้ติดต่อแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น มีผลการวิเคราะห์ ไอโซโทปของตะกั่วในตัวอย่างโบราณวัตถุทำด้วยโลหะผสมซึ่งมีทองแดงเป็นองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งดำเนินการโดย Dr. Thomas Oliver Pryce ชี้ว่าทองแดงซึ่งใช้ทำวัตถุสำริดพบที่แหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเชียงอาจมาจากแหล่งผลิตหลายแหล่ง โดยมีส่วนหนึ่งซึ่งแยกเป็นของพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง 5 ชิ้น รวมใบหอกสำริดพบที่บ้านเชียง อายุประมาณ 2,900-3,000 ปีมาแล้วด้วย และพบที่แหล่งโบราณคดีดอนกลาง 2 ชิ้น รวมเป็น 7 ชิ้น ทำด้วยทองแดงมาจากแหล่งผลิตทองแดงสมัยโบราณที่บ้านวิละบุรี เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Dr. Thomas Oliver Pryce เคยรายงานผลการศึกษาตัวอย่างวัตถุสำริดจากแหล่งโบราณคดีหลายแหล่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรายงานไว้ว่าหัวขวาน ริดอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้วซึ่งพบที่บ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และหัวขวานสำริดอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งพบที่แหล่งผลิตทองแดงสมัยโบราณ โนนป่าหวาย . โคกสำโรง . ลพบุรี ทำด้วยทองแดงที่ยังไม่ทราบแหล่งผลิต แต่แน่นอนว่าไม่ใชทองแดงจาก 3 แหล่งผลิตสำคัญซึ่งพบแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภูโล้น. สังคม จ. หนองคาย ย่านเขาวงพระจันทร์ . โคกสำโรง จ. ลพบุรี และบ้านวิละบุรี เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

นอกจากนี้ รายงานยังเสนอว่าวัตถุสำริดอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว พบที่แหล่งโบราณคดีที่หมู่บ้าน Nyaung Gan ซึงอยู่ห่างเมืองมัฑะเลย์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 120 กิโลเมตร ตอนกลางของประเทศเมียนมา ทำด้วยทองแดงผลิตจากย่านเขาวงพระจันทร์ จ. ลพบุรี ในประเทศไทย

ผลการศึกษาเช่นนี้ชี้ว่าในช่วงเวลาประมาณ 3,000 ปีมาแล้วนั้น มีเครือข่ยของการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าครอบคลุมและเชื่อมโยงชุมชนในพื้นที่หลายภูมิภาคย่อยของ ผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พัฒนาขึ้นมาแล้ว และเป็นสื่อประการหนึ่งซึ่งช่วยกระจายวัตถุใช้สอยทำด้วยสำริดและวัตถุดิบสำหรับทำโลหะสำริดจากชุมชนผู้ผลิตไปยังชุมชนผู้บริโภคแห่งต่างๆ ในพื้นที่กว้างขวางของผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเครือข่ายการติดต่อแลกเปลี่ยนผลผลิตนี้ก็คงเป็นปัจจยหนึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและสังคมเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันทั่วผืนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งเอื้ออำนวยการผสมผสานของคนต่างกลุ่มชาติพันธุ์เมื่อชวงเวลาดังกล่าวนั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image