มนุษย์โคราช “ปลดล็อก” ประวัติศาสตร์นครราชสีมา

มนุษย์โคราช “ปลดล็อก” ประวัติศาสตร์นครราชสีมา นครราชสีมาเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการสะสมอำนาจและวัฒนธรรมของชาวสยามดั้งเดิม ที่ต่อไปข้างหน้าเรียกตนเองว่าไทย, คนไทย

มนุษย์โคราช “ปลดล็อก”
ประวัติศาสตร์นครราชสีมา

นครราชสีมาเป็นพื้นที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการสะสมอำนาจและวัฒนธรรมของชาวสยามดั้งเดิม ที่ต่อไปข้างหน้าเรียกตนเองว่าไทย, คนไทย

ประวัติศาสตร์ไทย “กระแสหลัก” เป็นประวัติศาสตร์ชนเชื้อชาติไทย สายเลือดบริสุทธิ์ ซึ่งไม่มีจริงในโลก

ดังนั้น ต้องทบทวนใหม่ทั้งหมดประวัติศาสตร์ไทย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์เมืองนครราชสีมา

Advertisement

มนุษย์โคราช

มนุษย์โคราช ในที่นี้หมายถึงโครงกระดูกมนุษย์ มีอายุนับพันๆ ปีมาแล้ว พร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ที่นักโบราณคดี (กรมศิลปากร) ขุดพบบนแนวนินกำแพงเมืองโบราณของนครราชสีมาปัจจุบัน ด้านทิศตะวันออก (ใกล้วัดบูรพ์) เป็นหลักฐานสำคัญมาก บอกความเป็นมาเก่าแก่ของชุมชนก่อนมีเมืองนครราชสีมา ที่แต่เดิมนักวิชาการยุติว่าเริ่มมีสมัยพระนารายณ์เท่านั้น

(1.) โครงกระดูกมนุษย์ที่พบนั้นเป็นบรรพชนกลุ่มหนึ่งของคนนครราชสีมา และของคนไทย

Advertisement

(2.) บริเวณที่ขุดพบโครงกระดูกและเครื่องมือเครื่องใช้เป็นพื้นที่ชุมชนพันสองพันปีมาแล้ว ซึ่งมีกระจัดกระจายบนที่ดอนอีกหลายแห่ง (แต่ถูกทำลาย)

(3.) ชุมชนพันสองพันปีเหล่านี้ มีการค้าภายในผ่านลำน้ำใหญ่น้อยหลายสาย ทำให้เติบโตตามธรรมชาติเป็น “เมืองสถานีการค้า” (ไม่มีคูน้ำคันดิน) แล้วเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุดังนี้

. เมืองพิมายและบ้านเมืองรอบทุ่งกุลาร่วงโรย เมื่อเมืองอโยธยาเติบโตขึ้นแทนที่เมืองพระนครหลวง หลัง พ.. 1750

. เมืองเสมา (. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) คือเมืองราด (ของพ่อขุนผาเมือง) เติบโตขึ้นจากการค้ากับบ้านเมืองรัฐใหญ่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งค้าสำเภากับจีน

. เมืองเสมาได้รับการสถาปนาเป็นเมืองนครราชสีมาโดยกรุงศรีอยุธยา (เมืองใหม่ของอโยธยาศรีรามเทพ) มีหลักฐานในกฎมณเฑียรบาล (.. 2011 แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ)

4. พระนารายณ์โปรดให้สร้างใหม่เมืองนครราชสีมา บริเวณ “เมืองสถานีการค้า” ปลายน้ำลำตะคอง หลัง พ.. 2200

ศูนย์กลางเก่าเมืองนครราชสีมา (. สูงเนิน) ย้ายไปอยู่แห่งใหม่ (บริเวณตัวจังหวัดนครราชสีมาปัจจุบัน) ในแผ่นดินพระนารายณ์สืบเนื่องจนทุกวันนี้ เพราะเป็นที่ชุมทาง ลำน้ำย่อยหลายสาย และใกล้แม่น้ำมูลซึ่งเป็นแกนของเส้นทางการค้าดินแดนภายในติดต่อสะดวกไปทางทิศตะวันออกถึงอ่าวตังเกี๋ย (เวียดนาม) และขึ้นไปทางทิศเหนือถึงยูนนาน (จีน)

โครงกระดูกมนุษย์โคราช “ปลดล็อก” ประวัติศาสตร์นครราชสีมา (ภาพจาก มติชน ฉบับวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2567 หน้า 9)

ที่ฝังศพตระกูลหัวหน้าเผ่าพันธุ์

โครงกระดูกมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบตามแนวกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านตะวันออก บอกเรื่องราวดังนี้

(1.) โครงกระดูกคนพื้นเมืองดั้งเดิม มีอายุราว 2,000 ปีมาแล้ว (อาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ต้องตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์) หรือพูดอีกอย่างก็ได้ว่า มีอายุระหว่าง พ.. 1-1000

(2.) คนพื้นเมืองดั้งเดิม มีหลักแหล่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณลุ่มน้ำมูล (ตอนต้นและตอนกลาง) . นครราชสีมา ตั้งแต่เขต อ. พิมาย, . โนนสูง, . สูงเนิน, . เมือง ฯลฯ อาจมีที่อื่นๆ อีก แล้วกระจายไปถึงลุ่มน้ำป่าสัก บริเวณที่ราบลุ่ม

(3.) บอกไม่ได้ว่าโครงกระดูกเหล่านั้นเป็นไทย, ลาว, มอญ, เขมร, มลายู (เชื้อชาติไม่มีจริงในโลก) แต่ทางวัฒนธรรมแล้วรับรู้เป็นสากลว่าเป็นบรรพชนคนนครราชสีมาและบรรพชนคนไทยทุกวันนี้

(4.) พื้นที่ตรงที่ขุดพบโครงกระดูกสมัยนั้นเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน (ไม่ส่วนตัว) สำหรับประกอบพิธีกรรมของเผ่าพันธุ์ และเป็นที่ฝังศพของตระกูลชนชั้นนำ (Chiefdom) เท่านั้น (ไม่ใช่ฝังศพคนทั่วไป) คนทั่วไปเมื่อตายก็โยนซากศพให้แร้งกาจิกกินตามความเชื่อทางศาสนาผี

(5.) บริเวณขุดพบโครงกระดูกมนุษย์เมื่อพันสองพันปีมาแล้ว เป็นศูนย์กลางชุมชนหรือลานกลางบ้าน (หมายถึงลานกว้างกลางหมู่บ้าน) ใช้ทำกิจกรรมของชุมชน ได้แก่

(หนึ่ง) พิธีเลี้ยงผีขอฝน และเลี้ยงผีรักษาโรค

(สอง) ขุดหลุมฝังศพคนในตระกูลหัวหน้าเผ่าพันธุ์ (ชนชั้นนำ) เท่านั้น (ไม่ฝังศพคนอื่น)

(สาม) หลุมฝังศพอยู่ใต้เรือนจำลอง (ของเรือนจริง) เรียก “เฮือนเฮ่ว” เป็นที่สิงสู่ขวัญของคนตาย (ขวัญไม่ใช่วิญญาณ)

(6.) แหวนทองคำสวมนิ้วมือโครงกระดูกเป็นของจากที่อื่น ซึ่งทำด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงและวัสดุมีค่ามาก สนับสนุนว่าโครงกระดูกมีแหวนทองคำสวมนิ้วมือเป็นศพชนชั้นนำระดับหัวหน้าเผ่าพันธุ์ (เพราะคนทั่วไปไม่มีสมบัติอย่างนี้)

(7.) ภาชนะดินเผาแบบพิมายดำที่ฝังรวมกับศพ เป็นเทคโนโลยีจากภายนอก ย่อมเป็นสมบัติของตระกูลชนชั้นนำเท่านั้น (ไม่ใช่ของคนทั่วไป)

(8.) สิ่งของทั้งหมดที่ขุดพบป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่เครือญาติจัดฝังกับร่างคนตายเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันเหมือนเมื่อยังไม่ตายเคยทำอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ตามความเชื่อเรื่องขวัญทางศาสนาผี (ไม่ใช่วิญญาณทางศาสนาพุทธ) ดังนั้นจึงไม่เรียก “ของอุทิศ” ตามคติศาสนาพุทธ

โครงกระดูก และทองคำเป็นเครื่องประดับ มีแหวน 2 วง และต่างหู (ตุ้มหู) ขุดพบบริเวณกำแพงเมืองนครราชสีมา ด้านตะวันออก (ภาพและข่าวจาก มติชนออนไลน์ วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2567)

พิพธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จ. นครราชสีมา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ (ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงไทยประยุกต์) ตั้งอยู่บริเวณ (พื้นที่จำกัดมาก) ด้านหลังหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ถนนราชดำเนิน ต. ในเมือง อ. เมืองฯ จ. นครราชสีมา ภายนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตก

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร ได้มอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่รวบรวมไว้ให้กับกรมศิลปากร เมื่อ .. 2470

กรมศิลปากร ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถาน พ.. 2497 และเปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.. 2497 (70 ปีมาแล้ว)

ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์” เพื่อถวายเกียรติแต่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ผู้เริ่มก่อตั้ง

หมดสภาพมานานแล้วต่อการเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เมืองใหญ่ขนาดนครราชสีมา

มีการเรียกร้องมากกว่า 30 ปีมาแล้วให้สร้างใหม่พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา แต่ตามแบบแผนรัฐราชการรวบอำนาจรวมศูนย์ จึงไม่มีคำอธิบายและตอบรับ หรือไม่รับ

พิพิธภัณฑ์ฯ มหาวีรวงศ์ จัดแสดงตามแนวจัดเก็บรวบรวม “ของเก่า” อย่างเป็นระบบตามมีตามเกิด

นครราชสีมามิวเซียม” ควรสร้างใหม่บนสถานที่ใหม่กว้างขวาง และควรมีเนื้อหาประวัติศาสตร์สังคมบอกความเป็นมาของเมืองนครราชสีมา ด้วยโครงสร้างเนื้อหาเป็นตัวอย่างดังนี้

นครราชสีมามิวเซียม

ควรมีเนื้อหาเบื้องต้นดังต่อไปนี้

(1.) ชุมชนเกษตรกรรมเริ่มแรก 3,000 ปีมาแล้ว

นับถือศาสนาผี เชื่อเรื่องขวัญ (ไม่รู้จักวิญญาณ) พบทั่วประเทศและเพื่อนบ้าน แต่เฉพาะนครราชสีมาพบมากบริเวณลำเชียงไกรและลำตะคอง

(2.) เริ่มแรกการค้าระยะไกลทางทะเล ( 2,500 ปีมาแล้ว เรือน พ.. 1)

ชุมชนค้าทองแดงเติบโตเป็นบ้านเมือง ถูกเรียกสุวรรณภูมิ

บริเวณปลายน้ำลำตะคอง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดนครราชสีมา) มีชุมชนบนพื้นที่เนินดอน ซึ่งนักโบราณคดี (กรมศิลปากร) ขุดพบโครงกระดูกและเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนหนึ่งขณะนี้

(3.) แรกรับศาสนาใหญ่จากอินเดีย (1,500 ปีมาแล้ว เรือน พ.. 1000)

ศาสนาผีที่มีมาก่อนนานแล้ว เมื่อรับศาสนาพราหมณ์ฮินดู และศาสนาพุทธ ก็ผสมกลมกลืนเป็นผีพราหมณ์พุทธ

ศาสนาจากอินเดียผ่านขึ้นมาจากลุ่มน้ำท่าจีนและลุ่มน้ำป่าสัก เข้าถึงต้นน้ำลำ ตะคอง กระจายทั่วลุ่มแม่น้ำมูล

หลังจากนั้นขุดคูน้ำคันดินบอกเขตศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันเรียกว่าเมืองเสมา (พบจารึกระบุชื่อเมืองศรีจนาศะ) บนพื้นที่ต้นน้ำลำตะคอง อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา

สร้างพระนอน, ธรรมจักร, และสถูปเจดีย์ ในวัฒนธรรมทวารวดี

(4.) กำเนิดเมืองสยามและเมืองพิมาย (1,000 ปีมาแล้ว เรือน พ.. 1500)

เมืองสยาม มีประชาชนเป็นชาวสยามหมายถึงหลายชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลางสื่อสารต่างชาติพันธุ์ด้วยภาษาไทไต (ต้นตอภาษาไทย) ซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่เมืองเสมา (หรือเมืองศรีจนาศะ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา)

กษัตริย์เมืองสยามเป็นเครือญาติกับพระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 พบภาพสลัก “เสียมกุก” (ขบวนแห่เกียรติยศของชาวสยาม) บนระเบียงปราสาทนครวัด (.. 1650)

เมืองพิมาย มีประชาชนพูดภาษาเขมรเป็นหลัก และพูดภาษาอื่นด้วย

กษัตริย์นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน (สืบทอดจากเมืองเสมาศรีจนาศะ)

ศูนย์กลางอยู่เมืองพิมาย มีปราสาทพิมายเนื่องในลัทธิมหายาน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล (ตอนกลาง) เป็นถิ่นฐานเดิมของวงศ์มหิธร (มหิธรปุระ) สืบเชื้อสายเป็นกษัตริย์เขมรหลายพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6, พระเจ้าสุริยวรรมันที่ 2 (สร้างปราสาทนครวัด), พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 (สร้างปราสาทบายน เมืองนครธม)

(5.) เมืองสยามรุ่งเรืองและเมืองพิมายร่วงโรย (800 ปีมาแล้ว เรือน พ.. 1700)

เมืองสยามมีการค้ารุ่งเรืองกับจีนที่ค้าสำเภาถึงอ่าวไทย ถูกเรียกว่าเมืองราดของพ่อขุนผาเมือง (พื้นที่เดียวกับเมืองเสมาศรีจนาศะ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา)

เมืองพิมายร่วงโรยเพราะอยู่ห่างจากการค้าจีน ส่งผลให้ประชาชนเมืองพิมายและบ้านเมือง (ทางทุ่งกุลาร้องไห้) อพยพโยกย้ายไปเป็นชาวสยาม เพิ่มจำนวนประชากรเมืองสยาม ตั้งแต่ปลายน้ำต้นน้ำลำตะคอง พบร่องรอยพระพุทธรูปประทับยืนที่วัดบึง (ในเมืองนครราชสีมา) เป็นฝีมือช่างแบบหลังบายน ราว พ.. 1750-1850 (คำอธิบายของ อ.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มหาวิทยาลัยรามคำแหง)

เมืองราด “สยาม” (ลำตะคอง) สถาปนาอโยธยาร่วมกับเมืองศรีเทพและเมืองละโว้ (ลุ่มน้ำป่าสัก) ซึ่งเป็นเครือญาติและเครือข่ายการค้า

หลังจากนั้น อโยธยาสืบเนื่องเป็นอยุธยา เมืองราดถูกผนวกเป็นเมืองเครือญาติสำคัญของอยุธยา วัฒนธรรมสยามลำตะคอง ลุ่มน้ำมูล เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมอยุธยา ได้แก่ สำเนียงพูด (สำเนียงโคราช) และเพลงโต้ตอบ (เพลงโคราช) เป็นต้น

(6.) เมืองพิมายกับเมืองพนมรุ้งอ่อนน้อมยอมอยุธยา (..1980 ราว 587 ปีมาแล้ว ตรงกับปลายแผ่นดินเจ้าสามพระยา)

นับแต่นั้นเมืองสยาม (เมืองเสมาศรีจนาศะ อ. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) ได้ควบคุมเมืองพิมาย, เมืองพนมรุ้ง รวมทั้งบ้านเมืองตลอดลุ่มน้ำมูล

(7.) เมืองนครราชสีมาเริ่มแรก (.. 2011 หรือ 556 ปีมาแล้ว)

กรุงศรีอยุธยาสถาปนาเมืองราด (หรือเมืองสยาม เมืองเสมาศรีจนาศะ) ขึ้นเป็นเมืองนครราชสีมา (. สูงเนิน จ. นครราชสีมา) ในแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ พ.. 2011 (อยู่ในกฎมณเฑียรบาลกรุงศรีอยุธยา)

(8.) เมืองนครราชสีมาสร้างใหม่ (ไม่ระบุ พ..)

พระนารายณ์ (ครองราชย์ พ.. 2199-2231) โปรดให้สร้างใหม่เมืองนครราชสีมา บริเวณปลายน้ำลำตะคอง (บริเวณที่มีชุมชนสถานีการค้ามาแต่ดั้งเดิม) เพื่อควบคุมทรัพยากรโขงชีมูล

สืบเนื่องจนทุกวันนี้เป็นศูนย์กลางจังหวัดนครราชสีมา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image