พระกฤษณะ ปราสาทพนมรุ้ง สหรัฐฯ “ฉก” ไป—คืนไทยก่อนถูกทวง

พระกฤษณะ ปราสาทพนมรุ้ง สหรัฐฯ “ฉก” ไป—คืนไทยก่อนถูกทวง

พระกฤษณะ ปราสาทพนมรุ้ง
สหรัฐฯ “ฉก” ไปคืนไทยก่อนถูกทวง

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน กรมศิลปากร รายงานว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับ กรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนัง สลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ (Fragment of a Pilaster with Krishna lifting Mount Govardhana) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมประเภทปราสาทหิน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ 900 ปี

ทั้งนี้กรมศิลปากรได้มอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติตรวจสอบข้อมูลโบราณวัตถุดังกล่าว พบว่าเป็นชิ้นส่วนเสาติดผนังด้านซ้ายของกรอบประตูมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคาดว่าถูกลักลอบนำออกไปจากประเทศไทยราวปี พ.. 2508 ก่อนที่กรมศิลปากรจะเริ่มโครงการบูรณะปราสาทพนมรุ้ง

Advertisement

ก่อนหน้านี้ ดร. Nicolas Revire ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและโบราณคดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก ได้เดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และพบหลักฐานที่เชื่อมั่นได้ว่าเสาติดผนังรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะที่สถาบันฯ ได้รับบริจาคเมื่อปี พ.. 2509 นั้นมาจากปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ สถาบันฯ จึงมีความห่วงกังวลว่าโบราณวัตถุดังกล่าวอาจมีที่มาที่ขัดต่อกฎหมาย จึงมีความประสงค์ส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลไทย

โดยสถานะปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารทรัพย์สิน (Board of Trustees) ของสถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโกได้อนุมัติให้ถอดโบราณวัตถุรายการนี้ออกจากทะเบียนของสถาบันฯ แล้วตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา และได้ประสานกรมศิลปากรถึงขั้นตอนการเตรียมการส่งคืนสู่ประเทศไทย

สำหรับเสาติดผนังแสดงภาพพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ วัสดุหินทราย ขนาดสูง 95 ซม. กว้าง 30.4 ซม. หนา 19.3 ซม. สถานที่เก็บรักษา สถาบันศิลปะชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา รูปแบบศิลปะ/อายุสมัย พุทธศตวรรษที่ 17 (ประมาณ 900 ปี)

Advertisement

ประตูมณฑปด้านทิศตะวันออก ปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์

นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีอย่างยิ่งต่อเรื่องดังกล่าว โดยตั้งแต่ได้รับการทาบทามจากสถาบันศิลปะฯ ผ่านมาทางสถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก สถานกงสุลใหญ่และกรมสารนิเทศได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดส่งข้อมูลและอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างสถาบันศิลปะฯ กับกรมศิลปากรอย่างใกล้ชิด และกระทรวงการต่างประเทศพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินการขั้นต่อๆ ไป เพื่อให้สามารถนำโบราณวัตถุคืนสู่ประเทศไทยได้โดยเร็วที่สุด

การดำเนินการข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยในหลายประเทศได้ทำงานอย่างบูรณาการร่วมกับกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมา สามารถนำโบราณวัตถุของไทยหลายรายการกลับคืนสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทับหลังปราสาทหนองหงส์ . บุรีรัมย์ (2564) ทับหลังปราสาทเขาโล้น จ. สระแก้ว (2564) ครอบพระเศียรพระพุทธรูปทองคำศิลปะล้านนา (2564) พระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณ จำนวน 13 องค์ (2564) โบราณวัตถุบ้านเชียง (2566) และล่าสุด ประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ หรือ “Golden Boy” และประติมากรรมสำริดสตรีพนมมือ (2567) เป็นต้น

(ที่มา : มิตชนออนไลน์ วันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567)


เสาประดับกรอบประตู
ต้นแบบลุ่มน้ำมูล ส่งไปเขมรโตนเลสาบ

การสลักภาพเล่าเรื่องโคนเสาประดับกรอบประตู เริ่มครั้งแรกเกิดขึ้นในเขตลุ่มน้ำมูลจากนั้นจึงส่งแบบแผนให้เขตโตนเลสาบเขมร

เสาประดับกรอบประตูของปราสาทพนมรุ้ง มีอายุเก่ากว่าเสาประดับกรอบประตูที่ปราสาทนครวัด

โคนเสาประดับกรอบประตูของปราสาทพนมรุ้งแสดงภาพเล่าเรื่องกฤษณะโควรรธนะมีอายุเก่ากว่าเสาประดับกรอบประตูลักษณะเดียวกันที่พบในเขตเมืองพระนครของเขมร ได้แก่ เสาประดับกรอบประตูที่ปราสาทนครวัด, ปราสาทบันทายสำเหร่, และปราสาท บากอง

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

มหาวิทยาลัยรามคำแหง


คนไทยเมืองชิคาโกและในสหรัฐฯ
พลังสำคัญทวงคืน
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ สหรัฐส่งคืน .. 2531 ด้วยพลังทวงคืนของคนไทยเมืองชิคาโกและในสหรัฐฯ ถูกนำไปติดตั้งไว้ที่เดิมโดยวางทับบนหลังของกรอบประตูทางเข้ามณฑปทิศตะวันออกของปรางค์ประธานปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์

(ภาพจากหนังสือ ปราสาทพนมรุ้ง ของกรมศิลปากร พิมพ์ พ.. 2543)

การทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์โดยสรุป ดังนี้

(1.) ภาคราชการ ทวงคืนแล้ว แต่ไม่สำเร็จ สหรัฐไม่ยอมคืน

(2.) ภาคประชาชน รวมพลังทวงซ้ำจนสำเร็จ สหรัฐยอมคืนทับหลัง

ภาคประชาชน “หนุนช่วย” ภาคราชการ ไม่ว่าสำเร็จหรือไม่ ก็เป็นความงาม ถ้ายิ่งสำเร็จก็ยิ่งเป็นความงามอย่างยิ่ง

กรณีทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาคราชการ “ด้อยค่า” ภาคประชาชน มีหลักฐานอยู่ในหนังสือ ปราสาทพนมรุ้ง กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งที่สี่ พ.. 2543 (นาน 10 ปี หลังเหตุการณ์ได้คืน) กล่าวถึงการทวงคืนของภาคราชการเป็นระยะๆ แต่ไม่มีข้อความให้เกียรติภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยในเมืองชิคาโกที่เป็นกระแสหลักจนทวงคืนทับหลังสำเร็จ แล้วได้คืนถึงไทย พ.. 2531

จะลำดับความเป็นมาดังต่อไปนี้

1. ทับหลังนารายณ์กับบรรทมสินธุ์ ปราสาทพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ ถูกขโมยไประหว่าง พ.. 2503-2508 ช่วงสงครามเวียดนาม (สมัยสงครามเย็น)

ขณะนั้นไทยมีรัฐบาลเผด็จการทหาร (สืบทอดอำนาจจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์) ปิดหูปิดตาประชาชน แต่เปิดช่องทางกว้างขวางการโจรกรรมโบราณวัตถุจากพุทธสถานและเทวสถานทั่วราชอาณาจักร ส่งขายทั้งในและนอกประเทศเป็นที่รู้กันระดับนานาชาติ

2. รัฐบาลไทยทวงคืนทับหลังไม่สำเร็จ ตั้งแต่ พ.. 2516 โดยหน่วยราชการไทยส่งจดหมายทางการถึงสหรัฐอเมริกา แต่สหรัฐไม่ส่งคืน ส่วนรัฐบาลไทยไม่ติดตามทวงถามต่อเนื่อง แล้วปล่อยทิ้งไว้ยาวนาน 15 ปี

3. สภาผู้แทนฯ ของไทยรื้อฟื้นทวงคืนทับหลัง เริ่มเมื่อปลายปี 2530 โดยคณะกรรมาธิการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (สภาผู้แทนราษฎร) กดดันรัฐบาลทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เมื่อเดือนมกราคม พ.. 2531 แต่รัฐบาลทวงคืนไม่สำเร็จ (เหมือนเดิมเมื่อ 15 ปีก่อน)

4. สื่อมวลชนนานาชาติและสื่อไทยตั้งแต่ต้นปี 2531 กระพือข่าวทวงคืนทับหลังที่สหรัฐขโมยจากไทย โดยเน้นช่วงสงครามเวียดนามที่สหรัฐอเมริกาตั้งฐานทัพในไทยทางภาคอีสาน เพื่อส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วมีเอกสิทธิ์ทางการทหารในสงครามกระตุ้นให้เกิดการทำลายโบราณสถานในอีสานเพื่อเอาโบราณวัตถุไปขายทั้งในกรุงเทพฯ และสหรัฐ รวมถึงที่อื่นๆ ในโลก

มติชน ส่งผู้สื่อข่าวพิเศษไปสหรัฐเพื่อรายงานข่าวความเคลื่อนไหวเรื่องนี้โดยเฉพาะ และสนับสนุนข้อมูลเรื่องทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เพื่อการทวงคืนของชาวไทยในสหรัฐ

5. พลังคนไทยในเมืองชิคาโกและเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐ รวมตัวทวงทับหลังอย่างไม่อ่อนข้อท้อถอย แม้รัฐบาลไทยไม่ประสบความสำเร็จที่ส่งนักวิชาการระดับสูงไปเจรจาโดยสหรัฐไม่สนใจไยดีและไม่ส่งคืน

ดังนั้น คณะกรรมการรณรงค์กรณีทับหลังฯ จึงปรับทิศทางทวงคืนด้วยการ เข้าถึง บุคคลสำคัญต่างๆ ที่มีพลังต่อรองทางการเมืองและทางวัฒนธรรมของเมืองชิคาโกให้สนับสนุนการทวงคืนทับหลังของชาวไทย

[คณะกรรมการรณรงค์กรณีทับหลังฯ” เป็นองค์กรของชาวไทยในเมืองชิคาโก ได้ติดต่อสมาชิกสภาเมืองชิคาโก (City Council) มีมติเรียกร้องต่อสถาบันศิลป์ฯ เพื่อส่งคืนทับหลังให้แก่ประเทศไทย]

ต่อมาคณะกรรมการกิจการพิเศษและการวัฒนธรรมของสภาเมืองชิคาโก กำหนดให้มีการไต่สวนสาธารณะ (Public Hearing) ณ ศาลาว่าการเมือง (City Hall) ในวันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.. 2531

ครั้งนั้นชาวไทยเมืองชิคาโกร่วมกันออกทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด (โดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไทยสมัยนั้น) ทูลเชิญศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล (อดีตอธิการบดี และอดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) เป็นผู้แทนจากไทยไปเมืองชิคาโกในการไต่สวนสาธารณะของเทศบาลเมืองชิคาโกกรณี ทับหลัง โดยมีผู้ร่วมไต่สวนสาธารณะอย่างน้อย 2 คน

ในที่สุดก็สำเร็จ แต่เพื่อรักษาหน้าตาชื่อเสียงบางประการทำให้สถาบันฯ ที่ถือครอง ทับหลัง ปล่อยข่าว ต่างๆ นานา แต่ท้ายที่สุดสหรัฐส่งคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ให้ไทยโดยไม่มีเงื่อนไขเมื่อปลายปี 2531

คนไทยพร้อมลูกหลานและคนอเมริกันในเมืองชิคาโก ร่วมเดินขบวนทวงคืนทับหลัง ที่หน้า Art Institute ไปถึง downtown เมื่อ 20 พฤษภาคม 2531

6. สหรัฐส่งคืนไทย ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จากปราสาทพนมรุ้ง (. บุรีรัมย์) เมื่อ พ.. 2531 หรือ 33 ปีที่แล้ว หลังถูกขโมยไปตั้งแต่ช่วงสงครามเวียดนาม (ในสมัยสงครามเย็น)

การส่งคืนไทยของสหรัฐมาจากเหตุหลายอย่าง อาจสรุปได้ดังนี้

(1.) ถูกเรียกร้องอย่างแข็งแรงและต่อเนื่องจากชาวไทยในสหรัฐที่รวมตัวเป็นกลุ่มเหนียวแน่นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการประสานงานอย่างเข้มข้นของกลุ่มชาวไทยในเมือง ชิคาโก ซึ่งเปิดเผยตรงไปตรงมานานหลายเดือนจนเป็นที่ยอมรับถูกนำเรื่องเข้าสู่สภาเมืองชิคาโก แล้วมีมติอยู่ข้างชาวไทย

(2.) ถูกประามอย่างรุนแรงจากสัคมโลกกรณีสหรัฐโจรกรรมโบราณวัตถุ คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ไปจากไทย

(3.) กลุ่มการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มชาวต่างประเทศในสหรัฐที่เคลื่อนไหวด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชนหนุนช่วยทวงคืนทับหลังจนสำเร็จ

(4.) สื่อมวลชนในสหรัฐทั้งระดับนานาชาติและระดับท้องถิ่นหนุนช่วยอย่างแข็งแรงจากการดำเนินการของกลุ่มชาวไทยเมืองชิคาโก

.. สุภัทรดิศ ดิศกุล มีพระนิพนธ์ชื่นชมคนไทยในเมืองชิคาโก ดังนี้

ในครั้งนั้นต้องขอชมเชยคนไทยในเมืองชิคาโกที่เห็นความสำคัญของสมบัติแห่งชาติ ได้รวมตัวกันประท้วงเดินขบวนที่หน้าพิพิธภัณฑ์ศิลปะดังกล่าว ข้าพเจ้าเองได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเดินทางไปเจรจา จนท้ายสุดได้ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์คืนกลับมายังประเทศไทย

[จากพระนิพนธ์ชีวิตและผลงานของพระองค์เอง อยู่ในหนังสือมรดกไทย รวมบทนิพนธ์ ศ. .. สุภัทรดิศ ดิศกุล ครบรอบ 72 พรรษา สำนักพิมพ์ธุรกิจก้าวหน้า พ.. 2538 หน้า 24-25]

หนังสือปราสาทพนมรุ้งของกรมศิลปากร (กระทรวงวัฒนธรรม) ไม่เห็นค่า จึงไม่เอ่ยถึงความเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งเอาจริงเอาจังของคนไทยในชิคาโกและในสหรัฐฯ ในการทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

แถมยังอ้างว่าการทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เป็นงานของกรมศิลปากรฝ่ายเดียว ทั้งๆ ไม่จริง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image